ไขมันพอกตับ โรคที่มาเงียบ ๆ แต่รุนแรงเสี่ยงถึงมะเร็ง

202

ไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอกตับ เกิดจากตับเก็บสะสมไขมันไตรกลีเซอไรด์ (ไขมันชนิดเลว) มากจนเกินไป หรือ ประมาณ 5-10% ของตับ จนทำให้การทำงานของตับผิดปกติ ถึงแม้จะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่ก็ถือว่าเป็นอันตรายจนถึงมะเร็งได้

สาเหตุของ ไขมันพอกตับ

การเกิดโรคไขมันพอกที่ตับ แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

  1. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับเพศ ระยะเวลาการดื่ม ปริมาณ
  2. จากปัจจัยอื่น เช่น ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ผู้ที่ทานอาหารจำพวก น้ำตาล แป้ง ไขมัน ในปริมาณสูง กลุ่มคนที่ใช้ยา ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาสเตียรอยด์ ยาต้านฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะบางประเภท

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสียงที่อาจจะทำให้เป็น ไขมันพอกตับ

  • น้ำหนักเกิน ผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ผู้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • มีน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • มีค่าไขมันกลีเซอไรด์ในเลือดเกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มี HDL ต่ำ โดยผู้ชาย ไม่ควรน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง ไม่ควรน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท

อาการ ไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกที่ตับ มักจะไม่ค่อยแสดงอาการจนกว่าจะมีไขมันพอกในปริมาณที่สูง จนทำให้เซลล์ตับมีการบวม อาการที่มักจะพบเห็นได้ (แต่ไม่มาก) ก็อย่างเช่น อ่อนเพลีย ไม่สบายท้อง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไม่มีสมาธิ มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจไม่ดี โดยอาการป่วยแบ่งได้เป็น 4 ระยะดังนี้

  • ไขมันเริ่มสะสมที่ตับ – จะยังไม่มีพังผืด หรือเกิดการอักเสบขึ้นที่ตับ
  • ตับมีการอักเสบ – หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจนเกิน 6 เดือน จะอักเสบเรื้อรัง
  • ตับอักเสบรุนแรงต่อเนื่อง – เซลล์ตับจะเริ่มถูกทำลาย และทนที่ด้วยการพังผืดในตับ
  • เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก – ตับจะทำงานไม่ปกติเหมือนเดิม และทำให้ตับแข็ง เสี่ยงต่อมะเร็งตับ

การรักษา และการป้องกัน ไขมันพอกตับ

  • ควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากลดน้ำหนักภายใน 3 เดือน ไม่ควรลดเกิน 7 % ของน้ำหนักตัว
  • ออกกำลังกายให้ได้ครั้งละ 30 นาที ขึ้นไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นกากใย และอาหารพลังงานต่ำ
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูง ต้องทานยาตามแพทย์สั่ง
  • ไม่ควรทานยา อาหารเสริมนอกเหนือจากแพทย์สั่ง
  • เลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจสุขภาพประจำปี และไปตามหมอนัดทุกครั้ง

ไขมันพอกตับ มักจะเป็นอาการที่มาเงียบ ๆ ไม่ค่อยมีอาการรุนแรงให้เห็น แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจหากใครสงสัยว่ามีอาการควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษา และปฏิบัติตัวก็จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้